สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์ (INFLUENCER) โดยพบว่า ในปัจจุบันการแข่งขันผลิตคอนเทนต์และการให้ความสำคัญกับ Engagement ของอินฟลูเอนเซอร์
เช็กสถิติภัยคุกคามไซเบอร์ ปี 66 หน่วยงานไหน โดนแฮกเยอะสุด? คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ข้อมูลรัฐ-เอกชนรั่ว 5,000 แห่ง! ดีอีเอสสั่งเร่งแก้ไขแล้ว
ทำให้มักมีการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมก่อนเผยแพร่ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหลายประการ เช่น การนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง อย่างข่าวปลอม หรือข้อมูลที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ
ไปจนถึงการชวนเชื่อในกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้กระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การโฆษณาเว็บพนันออนไลน์ บางรายมีการเสนอข่าวอาชญากรรมราวกับละครเพื่อสร้างความตื่นเต้นเร้าใจและไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เสียหาย ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด
ไปจนถึงการใช้ภาพผู้คนหรือ วิดีโอของผู้อื่นมาตัดต่อลงคอนเทนต์ของตน โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา แม้ว่าเนื้อหาบางประเภทที่ไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย แต่อาจนำไปสู่การสร้างค่านิยมที่ผิดต่อสังคม เช่น คอนเทนต์อวดความร่ำรวย
การศึกษาของวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่ม Gen Z ร้อยละ 74.8 เป็นผู้ที่ชอบแสดงตัวตนในรูปแบบนี้มากที่สุด หรือการนำเสนอภาพบุคคลที่ได้รับการปรับแต่งให้ดูดี จนกลายเป็น มาตรฐานความงามที่ไม่แท้จริง ซึ่งอาจสร้างค่านิยมที่ผิดให้กับเด็กและเยาวชนในสังคม และอาจกระทบต่อการก่อหนี้เพื่อนำมาซื้อสินค้าและบริการ
ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลเชิงลบของต่อสังคมหลายแง่มุมซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการออกกฎหมายเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์อย่างชัดเจน เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีกฎหมายห้ามอวดความร่ำรวย และการใช้ชีวิตแบบกินหรูอยู่สบายเกินจริง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ ผิดกฎหมาย นอร์เวย์และสหราชอาณาจักร กำหนดให้ อินฟลูเอนเซอร์ แจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับ การขายและโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย พร้อมแสดงเครื่องหมายกำกับ เพื่อลดปัญหาความกดดันทางสังคมต่อ มาตรฐานความงามที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
สำหรับประเทศไทย สภาภาพัฒน์ ระบุว่า ยังไม่มีกฎระเบียบสำหรับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์อย่างชัดเจน มีเพียงกฎหมายควบคุม อาทิ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
รวมทั้งอยู่ระหว่างพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนพ.ศ. …. ที่มีความพยายามปรับปรุงการกำกับดูแลการนำเสนอข้อมูลให้เท่าทันสื่อปัจจุบัน
นอกจากนี้ แนวทางการกำกับดูแลส่วนใหญ่เน้นไปที่การตรวจสอบ เฝ้าระวังการนำเสนอ และการตักเตือน/แก้ไข ซึ่งหากไทยจะขยายการกำกับดูแลให้ครอบคลุมกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์อาจต้องทบทวนการกำหนดนิยามของสื่อออนไลน์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น
รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับการผลิตเนื้อหาของสื่อกลุ่มต่างๆ โดยอาจศึกษาจากกรณีตัวอย่างของกฎหมายและมาตรการของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมต่อไป
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล
“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า
กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่