การออมเงินเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้การเงินของเรามีความมั่งคั่งในอนาคต ไม่ว่าจะเก็บออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ หรือเอาไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายกับค่ารักษาพยาบาล หรือแม้จะอยากได้สิ่งของสักอย่าง จึงต้องเก็บออมเพื่อซื้อของสิ่งนั้น และการออมเงินยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงินของตนเองอีกด้วย
แต่เมื่อเกิดวิกฤติต่าง ๆ อาจกระทบกับการออมเงินของเราได้ เพราะต้องนำเงินที่เดิมทีต้องนำมาเก็บออม ต้องนำมาใช้จ่ายสำรองเงินจากการขัดสนที่เกิดจากวิกฤติ เช่น วิกฤติโควิด ที่เราได้ประสบพบเจอ ทำให้หลายคนต้องตกงาน ผู้ประกอบธุรกิจขาดรายได้ ซึ่งล้วนกระทบกับเงินในกระเป๋าและในบัญชีเงินฝากธนาคารของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในเรื่องนี้ นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนการเงิน ได้แชร์มุมมองในงาน “โครงการพัฒนาอบรมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง ปี 2565 Next chapter for wealth : เปิดโลกสร้างความมั่งคั่งสู่ความมั่นคง” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
โดยระบุว่า สถิติการออมเงินของคนไทย หลังพ้นสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หากเทียบก่อนเกิดการระบาดของโควิด 19 ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สัดส่วนการออมของคนไทยมี 74.1% ของจำนวนประชากรทั้งหมดและครัวเรือนที่ไม่มีการออมมีถึง 25.9% แต่ปัจจุบัน พบว่า ระดับครัวเรือนที่ไม่มีการออมมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย และยังต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เร่งตัวขึ้น ส่งผลต่อความสามารถการชำระหนี้คำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น
ทำให้คนไทยจำเป็นต้องนำเงินออมมาเพื่อชำระหนี้ และบางรายยกเลิกการออม รวมถึงยังไร้แรงจูงใจในการออม หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีในการลงทุนเพื่อการออมระยะยาว ทำให้กลุ่มรายได้ปานกลางลดการออมลง หรือ หยุดการออมลงคำพูดจาก เว็บสล็อตทดลองเล่น
นางวิวรรณ เสนอแนะว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน โดยเฉพาะยกระดับรายได้ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ ควบคู่กับการส่งเสริมการออม การลงทุน ผ่านกลไกของกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. รณรงค์และเพิ่มแรงจูงใจให้คนไทยให้ออมเงินในระยะยาว ลดความเดือดร้อนที่เพิ่มขึ้นจากโควิด-19
นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้กลุ่มคนรายได้ปานกลางบริหารรายได้ส่วนหนึ่งมาลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนและความมั่นคงมากกว่าลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์ทางภาษีอย่างเดียว และแนะนำว่า การลงทุนในครึ่งปีหลัง 2565ควรเลือกหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานและราคาที่ลดลงกว่ามูลค่าพื้นฐาน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวนจากโยกย้ายเงินลงทุนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐและจีน รวมถึง สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ทีมข่าว “เศรษฐกิจ เดลินิวส์” ได้รวบรวมสถิติเงินฝากของคนไทยในแต่ละกลุ่มว่ามีมาก-น้อยแค่ไหน โดยเป็นยอดเงินฝาก ณ เดือน มิ.ย.2565 (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) มีทั้งสิ้น 117 ล้านบัญชี รวมเงินฝาก 15.67 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
-ไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 103,106,763 บัญชี รวม 438,413 ล้านบาท
-เกินกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จำนวน 4,243,949 บัญชี รวม 298,836 ล้านบาท
-เกินกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท จำนวน 3,453,724 บัญชี รวม 477,187 ล้านบาท
-เกินกว่า 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท จำนวน 3,202,014 บัญชี รวม 1,004,763 ล้านบาท
-เกินกว่า 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท จำนวน 1,586,019 บัญชี รวม 1,113,813 ล้านบาท
-เกินกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท จำนวน 1,796,608 บัญชี รวม 4,375,842 ล้านบาท
-เกินกว่า 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 25,000,000 บาท จำนวน 104,092 บัญชี รวม 1,541,663 ล้านบาท
-เกินกว่า 25,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท จำนวน 31,140 บัญชี รวม 1,086,377 ล้านบาท
–เกินกว่า 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท จำนวน 13,836 บัญชี รวม 962,351 ล้านบาท
-เกินกว่า 100,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000,000 บาท จำนวน 6,352 บัญชี รวม 870,968 ล้านบาท
-เกินกว่า 200,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000,000 บาท จำนวน 3,310 บัญชี รวม 999,286 ล้านบาท
-ตั้งแต่ 500,000,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1,545 บัญชี รวม 2,506,377 ล้านบาท